คำอธิบายรายวิชาเกี่ยวกับรายวิชา (About This Course)
รายวิชา การสื่อสารสุขภาพ : แบบจําลองและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ แนวคิด องค์ประกอบและลักษณะเด่นเกี่ยวกับแบบจำลองและทฤษฎีการสื่อสาร แบบจำลองการสื่อสารสุขภาพ ทฤษฎีทางการสื่อสารที่ใช้ในการสื่อสารสุขภาพ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความสัมพันธ์ของบุคคล ทฤษฎีสมดุล ทฤษฎีการลดความไม่แน่นอน ความหมายการสื่อสารระดับต่าง ๆ กระบวนการสื่อสารภายในบุคคล ระหว่างบุคคล กลุ่ม สาธารณ และมวชล และการประยุกต์ใช้ระดับการสื่อสารระดับต่าง ๆ ในการสื่อสารสุขภาพ
โดยเนื้อหาประกอบด้วย
บทที่ 1: แบบจําลองทางการสื่อสารที่ใช้ในการสื่อสารสุขภาพ
1.1 ความหมายความสําคัญของแบบจําลอง
1.2 แบบจําลองการสื่อสารของอริสโตเติลและลาสเวลล์
1.3 แบบจําลองการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์ำ
1.4 แบบจําลองการสื่อสารของเวสเลย์และแมคลีนำ
1.5 แบบจําลองการสื่อสารของชแรมม์
1.6 แบบจําลองการสื่อสารของเบอร์โลและด๊านซ์
1.7 แบบจําลองการสื่อสารสุขภาพ
บทที่ 2: ทฤษฎีทางการสื่อสารที่ใช้ในการสื่อสารสุขภาพ
2.1 ความหมายความสำคัญของทฤษฎี
2.2 ทฤษฎีของธีโอดอร์นิวคอมบ์
2.3 ทฤษฎีสมดุล
2.4 ทฤษฎีการลดความไม่แน่นอน
บทที่ 3: การสื่อสารสุขภาพตามระดับการสื่อสาร
3.1 บทนำของระดับการสื่อสาร
3.2 การสื่อสารภายในตัวบุคคล
3.3 การสื่อสารระหว่างบุคคล
3.4 การสื่อสารระดับกลุ่ม
3.5 การสื่อสารสาธารณะ
3.6 การสื่อสารมวลชน
วัตถุประสงค์ (Learning Objectives)
1. อธิบายแบบจำลองทางการสื่อสารที่ใช้ในการสื่อสารสุขภาพได้
2. อธิบายทฤษฎีทางการสื่อสารที่ใช้ในการสื่อสารสุขภาพได้
3. อธิบายความหมาย กระบวนการสื่อสารระดับต่าง ๆ ได้
4. อธิบายหลักและวิธีการการสื่อสารระดับต่าง ๆ ในงานสื่อสารสุขภาพได้
เกณฑ์การวัดและประเมินผล (Evaluation and Score Criteria)
1. แบบทดสอบก่อนเรียน 10%
2. แบบทดสอบระหว่างเรียนทุกบท 50%
3. แบบทดสอบหลังเรียน (Final Exam) 40%
ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้
ข้อแนะนำสำหรับการเรียน (Learning Advice)
1. ผู้เรียนต้องทำแบบทดสอบในรายวิชาให้ครบ
2. ผู้เรียนควรทบทวนความเข้าใจเนื้อหาของแต่ละบทเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนให้ครบ
3. ผู้เรียนสามารถทำแบบทดสอบได้ข้อละ 1 ครั้งเท่านั้น