Skip to main content

พื้นฐานการเขียนบทและการเขียนสื่อความคิดในชีวิตประจำวัน (Basic Script Writing and Writing for Everyday Life Communication)


BUU
เกี่ยวกับรายวิชา (About This Course)

รายวิชาพื้นฐานการเขียนบทและการเขียนสื่อความคิดในชีวิตประจำวัน (Basic Script Writing and Writing for Everyday Life Communication) เป็นรายวิชาที่มุ่งให้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนใน 2 ลักษณะ ได้แก่ พื้นฐานการเขียนสื่อความคิดและการแสดงเหตุผลในชีวิตประจำวันและพื้นฐานการเขียนเล่าเรื่องผ่านรูปแบบการเขียนบทละคร เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทราบถึงหลักการเขียนสื่อความคิดทั้งสองประเภทและนำไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ต่อไป

โดยเนื้อหาประกอบด้วย

บทที่ 1: การเขียนสื่อความคิดในชีวิตประจำวัน

  • 1.1 ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด
  • 1.2 การใช้ภาษาแสดงเหตุผล
  • 1.3 หลักพื้นฐานการเขียนสื่อความคิด
  • บทที่ 2: พื้นฐานการเขียนบทละคร

  • 2.1 ความหมายของบทละคร
  • 2.2 ปัจจัยสำคัญของการเขียนบทละคร
  • บทที่ 3: ขั้นตอนการเขียนบทละคร

  • 3.1 การเขียน BIG IDEA/Premise
  • 3.2 การเขียนโครงร่างและโครงเรื่องขยาย
  • 3.3 การเขียนบท 3 องก์
  • 3.4 การปรับปรุงการเขียน
  • บทที่ 4: แบบฟอร์มและกลวิธีการเขียน

  • 4.1 ฟอร์มการเขียนบทละคร
  • 4.2 คำศัพท์ที่ควรทราบ
  • 4.3 กลวิธีการเขียน
  • คำอธิบายรายวิชา (Course Description)

    ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด การใช้ภาษาแสดงเหตุผล หลักพื้นฐานการเขียนสื่อความคิด หลักการเขียนบทละครเบื้องต้น การค้นหาเรื่องราว โครงสร้างและองค์ประกอบของบทละคร ขั้นตอนการเขียนบทละคร กลวิธีการเขียน

    วัตถุประสงค์ (Learning Objectives)

  • 1. ผู้เรียนสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิดได้
  • 2. ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการเขียนสื่อความคิด
  • 3. ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการเขียนบทละครเบื้องต้นได้
  • เกณฑ์การวัดและประเมินผล (Evaluation and Score Criteria)

    มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อยในแต่ละหน่วยการเรียน (Quiz) และแบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 60 คะแนน และคะแนนจาก Post-Test เท่ากับ 40 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 70 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะ ถือว่าผ่านและได้รับ Certificate of Completion ออนไลน์ได้

    ข้อแนะนำสำหรับการเรียน (Learning Advice)

  • 1. ผู้เรียนควรทำกิจกรรมแบบฝึกหัดและแบบทดสอบในรายวิชาให้ครบ
  • 2. ผู้เรียนควรทบทวนความเข้าใจเนื้อหาของแต่ละบทเรียนและทำกิจกรรมตามที่ผู้สอนมอบหมายตลอดจนทำ แบบฝึกหัดหลังเรียนอย่างสม่ำเสมอ
  • 3. ผู้เรียนสามารถทำแบบทดสอบได้ข้อละ 2 ครั้งเท่านั้น
  • อาจารย์ผู้สอน (Course Lecturer)

    Course Staff Image #1
    อาจารย์ ดร. อภิรักษ์ ชัยปัญหา
  • ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
  • อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • Enroll