Skip to main content

พื้นฐานด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Foundation)


BUU

คำอธิบายรายวิชา

การจัดการและการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การวางแผน การสรรหา การคัดเลือก การจ้างงาน การจัดปฐมนิเทศ การสอนงาน การฝึกอบรมและการพัฒนา การพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ การประเมินผลการปฏิบัติงาน Human resource management; employee retention in business; human resource functions including planning, recruitment and selection, job placement, orientation, coaching, training and development, and performance evaluation .

ระยะเวลาในการเรียนรู้ตลอดรายวิชา: 5 ชั่วโมงการเรียนรู้

ระยะเวลาการเรียนรู้ต่อสัปดาห์: 1 ชั่วโมงการเรียนรู้

จำนวนบทเรียน: 5 บทเรียน

สื่อการเรียนรู้ที่ใช้ในแต่ละบทเรียน ประกอบด้วย 1. เอกสารสรุปบทเนื้อหา 2. เอกสารกรณีศึกษา 3. สื่อวีดีทัศน์การเรียนรู้ 4. แบบทดสอบท้ายบทเรียน

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1.ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์ กิจกรรมทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และจริยธรรมในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้

2.ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวคิดการวางแผนอัตรากำลังและการบรรจุจ้างพนักงานได้

3.ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวคิดและวิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้

4.ผู้เรียนสามารถอธิบายวิธีการจูงใจและธำรงการรักษาพนักงานได้

5.ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และเสนอรูปแบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมกับกลยุทธ์ธุรกิจได้

โครงสร้างเนื้อหาและบทเนื้อหา

แนะนำวิชา: แบบสอบถามก่อนเริ่มเรียน/แบบทดสอบความรู้เบื้องต้นก่อนเริ่มเรียน/แนะนำวิชาและบทเรียนออนไลน์ /ทำความรู้จักเพื่อนร่วมเรียน (Discussion)

บทที่ 1: แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 1.1 ความหมายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และความสำคัญ 1.2 กิจกรรมในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 1.3 บทบาทของผู้บริหารในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 1.4 จริยธรรมในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 1.5 ความแตกต่างหลากหลาย และความเท่าเทียมในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และกิจกรรมท้ายบท

บทที่ 2: การวางแผนอัตรากำลัง และการบรรจุจ้าง ประกอบด้วย 2.1 การวางแผนอัตรากำลังคน 2.2 กลยุทธ์การจัดการแรงงาน 2.3 การสรรหา 2.4 การคัดเลือก 2.5 การสัมภาษณ์ และกิจกรรมท้ายบท

บทที่ 3: การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการประเมินผล ประกอบด้วย 3.1 ความหมาย และกระบวนการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน 3.2 วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน 3.3 การพัฒนาสายอาชีพ 3.4 การประเมินผลการปฏิบัติงาน 3.5 วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน และกิจกรรมท้ายบท

บทที่ 4: การธำรงรักษาพนักงาน ประกอบด้วย 4.1 ค่าตอบแทนและประเภทค่าตอบแทน 4.2 วิธีการกำหนดค่าตอบแทน 4.3 ความปลอดภัยในการทำงานและการส่งเสริมสุขภาพพนักงาน 4.4 แรงงานสัมพันธ์ 4.5 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงาน และกิจกรรมท้ายบท

บทที่ 5: สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 5.1 สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ 5.2 สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 5.3 ผลกระทบสภาพแวดล้อมทางธุรกิจต่อกิจกรรมการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 5.4 การวางแผนองค์กรและการวางแผนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 5.5 เทคโนโลยีในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และกิจกรรมท้ายบท

Final Exam: วัดผลประมวลความรู้

การวัดผลและการประเมินผล

แบบทดสอบระหว่างเรียนทุกบท 5 บทบทละ 10 คะแนน รวม 50 คะแนน

แบบทดสอบหลังเรียน (Final Exam) 50 คะแนน

ในแต่ละแบบทดสอบ นิสิตสามารถทำได้ 5 ครั้ง

ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70 คะแนน ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้

อาจารย์ผู้สอน

Course Staff Image #2

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณภา ลือกิตินันท์

อาจารย์ประจำสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่

อาจารย์ประจำสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว

รองศาสตราจารย์ ดร.พรรัตน์ แสดงหาญ

อาจารย์ประจำสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณวิชนี ถนอมชาติ

อาจารย์ประจำสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว

อาจารย์ณฤดี พรหมสุวรรณ

อาจารย์ประจำสาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว

ข้อแนะนำในการเรียน

1.ผู้เรียนควรเริ่มศึกษาบทเรียนตามลำดับ เริ่มตั้งแต่บทที่ 1 จนถึงบทที่ 5 และในแต่ละบทเรียนควรศึกษาตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอน ไม่ควรข้ามเนื้อหา

2.ในการศึกษาแต่ละบทเรียน ผู้เรียนควรอ่านเอกสารบทสรุปเนื้อหาตามวัตถุประสงค์ในการเรียนก่อน จากนั้นจึงศึกษาสื่อวีดีทัศน์การเรียนรู้ และเอกสารกรณีศึกษา

3.เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาในแต่ละบทเรียนครบถ้วนแล้ว รวมถึงทบทวนบทเรียนจนเกิดความเข้าใจในเนื้อหา จึงทำแบบทดสอบท้ายบทซึ่งเป็นการเก็บคะแนนการเรียนรู้ในแต่ละบทเรียน

4.เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจนเกิดความเข้าใจในแต่ละบทแล้ว รวมถึงทำแบบทดสอบท้ายในแต่ละบทเรียนครบทั้ง 5 บทเรียนเรียบร้อยแล้ว จึงค่อยทำแบบทดสอบหลังเรียน (Final Exam)

Enroll